ชาวกุ้งราชบุรี เฮได้รับมาตรฐาน GI


นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยรู้สึก ดีใจกุ้งราชบุรีได้รับมาตรฐาน GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หวังให้ภาครัฐช่วยผลักดันช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจังมากขึ้น
( 29 มิ.ย. 66 ) หลังจากที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) เรื่อง กุ้งก้ามกรามบางแพราชบุรี ลำดับที่ 5 ของ จ.ราชบุรีต่อจากสินค้ามะพร้าวน้ำหอมราชบุรี สับประรดบ้านคา โอ่งมังกรราชบุรี และไชโป๊วโพธาราม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น

นายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย เปิดเผยว่า ถือเป็นข่าวดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทุกคนว่าตอนนี้กุ้งก้ามกรามได้รับการรับรอง GI เป็นข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้กับเกษตรกรว่ากุ้งก้ามกรามที่ราชบุรีมีรสชาติอร่อย สีสวย โตเร็ว เนื้อแน่น มีคุณภาพดี พิสูจน์ได้ทางเชิงวิทยาศาสตร์ ทำให้ขายกุ้งได้ดีขึ้น ในต่างประเทศคิดว่าเป็นที่ต้องการที่อยากได้ของดี ให้เกษตรกรทุกคนเตรียมไปจดแจ้งการขึ้นทะเบียนกับประมงจังหวัดราชบุรีด้วย


นอกจากนี้นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ยังกล่าวถึง ความรู้สึกเรื่องกุ้งราชบุรี สามารถกลายเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อ.บางแพ ซึ่งเดิมมีการเลี้ยงอยู่แล้วแต่ไม่เคยหยิบมาใช้ และไม่รู้ว่าจะใช้ได้อย่างไร รู้อย่างเดียวว่ากุ้งที่นี่เวลาขายได้ราคาที่แพงมากกว่าที่อื่นในไซซ์ที่เท่ากันประมาณกิโลกรัมละ 15 – 20 บาท รู้เพียงเท่านั้น แต่พอมารู้ว่ามีเรื่องของ GI เป็นเรื่องของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทำให้รู้ว่าพื้นที่เลี้ยงไม่เหมือนที่อื่น เพราะว่าพื้นที่มีน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ พื้นที่เป็นท้องกะทะ เมื่อก่อนประมาณ 30-40 ปี ชาวบ้านปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่า ทำกินอะไรไม่ได้ บางที่พอปลูกข้าวเลื่อนลอยเอาไว้เลี้ยงสัตว์ พอถึงปีน้ำจะท่วมที่ดินมีสภาพเป็นท้องกระทะ จากสภาพพื้นที่ท้องกระทะทำให้เก็บสะสมแร่ธาตุต่างๆ หน้าดิน ตะกอนดินเอาไว้ พอมาเลี้ยงกุ้งแล้วปรากฎว่าแร่ธาตุที่อยู่ในดินเกิดเป็นผลดีต่อกุ้งก้ามกราม ผลผลิตต่อสัตว์น้ำทำให้สีสวย โตเร็ว รสชาติดี ประกอบสายพันธุ์และเทคนิคการเลี้ยงของเราเข้าไปด้วยทำให้หลายอย่างสมบูรณ์ดีขึ้น มีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง
ส่วนคุณภาพการผลิตนั้นทางกรมประมงได้จัดการดูเทคนิคการเลี้ยงทั้งหมดของเกษตรกรทั่วประเทศ ที่ผ่านมาตนเองได้ถอดบทเรียนคือเรื่อง การเลี้ยงกุ้งของตนเองให้เป็นเกษตรกรต้นแบบของประเทศ จึงจะเอาบทเรียนนี้ไปเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรพร้อมตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อให้เป็นต้นแบบให้เกษตรกรอื่นๆได้ทำวัตถุดิบที่ออกมาจะได้ออกมาจะได้รวมตัวกันเพื่อการส่งออก และนำเรื่องของกุ้ง GI ให้เป็นที่ประจักษ์ว่ากุ้งของเรามีการเลี้ยงที่ดี พันธุ์ดี น้ำดีและพื้นที่ดีด้วย มองว่าน่าจะมีทิศทางที่ดีกว่าเดิมมากขึ้น ตอนนี้พื้นที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนอยู่กว่า 1,000 ราย เนื้อที่เกือบ 20,000 ไร่ เป็นพื้นที่มีการเลี้ยงกุ้งมากที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ อ.บางแพ เป็นพื้นที่ท้องกระทะ แทบจะทั้งหมด
สำหรับการส่งออกคงต้องอาศัยจากภาครัฐเข้าช่วยเพราะมีข้อจำกัดหลายเรื่อง เช่น ระเบียบในการนำเข้า ข้อกำหนดต่างๆแต่ละประเทศมีไม่เหมือนกัน ยืนยันว่าการเลี้ยงกุ้งทั้งหมดไม่ได้ใช้สารตกค้าง โดยที่กรมประมงมาตรวจการผลิต วัตถุดิบต่างๆ ไม่มีสารตกค้าง มองว่าภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญที่จะเอาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกับเกษตรกรเรื่องปัญหาส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น
ส่วนเรื่อง GI มองว่าเกษตรกรได้รับประโยชน์มาก เนื่องจากกุ้งของเราพิสูจน์ทางอัตลักษณ์ได้ และได้รับการรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา คิดว่าเป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น ปลาช่อนแม่ลาหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนGI เสร็จเรียบร้อยแล้วทำให้ปลาช่อนแม่ลาขายดีมาก เป็นที่ต้องการของตลาดมากทำให้ราคาเพิ่มสูงอีกเป็นเท่าตัว เกษตรกรก็ดีใจ ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีกับเรื่องกุ้งของราชบุรี
ตอนนี้ยังมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขนส่งด้วย คือ การขนส่งกุ้งเป็นโดยไม่ใช้น้ำในระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง กุ้งไม่ตายไม่เกิดความเสียหายเฉพาะในประเทศ แต่หากไปในต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง โดยการขนส่งทางเครื่องบิน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน จีนตอนล่าง สามารถขนส่งได้ อีกอย่างคือการฟีชโดยไม่ทำลายเซล ฟีชเป็นน้ำแข็งแล้วเอาออกมาจากที่ฟีชแล้วนำแช่น้ำ เพื่อให้น้ำแข็งละลายก็ยังทำให้เป็นอยู่ แต่มองสองส่วนว่า ส่วนของเกษตรกรพยายามปรับให้ตรงใจตลาดว่า ทางตลาดต้องการกุ้งที่มีลักษณะเนื้อแน่น กรุบกรอบหวานอร่อย แต่ขณะเดียวกันส่วนของลักษณะเนื้อแน่นกรุบกรอบจะมีเรื่องฟอสเฟสธรรมชาติเยอะ เนื่องจากเนื้อยิ่งแน่นยิ่งเด้งดี เป็นวิธีการเลี้ยงของเรา แต่จะต้องประชาสัมพันธ์ว่าเราไม่ได้ใช้ฟอสเฟส เพราะกุ้งเป็นจะนำไปแช่ฟอสเฟสไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่มีใครช่วยประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเลย ทำให้เป็นข้อจำกัดเดิมๆเมื่อหลายสิบปีแล้ว ทำให้เป็นข้อจำกัดการที่จะนำกุ้งส่งออกต่างประเทศได้ จึงคิดว่าอนาคตอันใกล้ในงานวันกุ้งภาคกลาง วันที่ 19 ก.ค. 2566 ที่จะถึงนี้จะสรุปเรื่องประมาณ 3-4 ข้อ เรื่องประเด็นความอยู่รอดของเกษตรกร เสร็จแล้วจะเตรียมยื่นถึงนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพื่อให้ช่วยเหลือเกษตรกรด้วย
///////////////////////////////////////////
พันธุ์ – จรรยา แก้วนุ้ย จ.ราชบุรี

Related posts