เปิดยิ่งใหญ่กีฬาสีลูกพระพันปีราชินีบูรณะ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่โรงเรียนราชินีบูรณะ อ.เมือง จ.นครปฐม นายกองตรี เอกพันธุ์คุปตวัช อดีตนายกเทศมนตรีนครนครปฐม กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนราชินีบูรณะเป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาภายใน(กีฬาสี)ครู นักเรียนโรงเรียนราชินีบูรณะ“ราชาวดีเกม” ประจำปีการศึกษา2566 มีว่าที่ร้อยตรีมนต์เมืองใต้ รอดอยู่ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชินีบูรณะ รายงานว่าการแข่งขันกีฬาภานใน “ราชาวดีเกม” นี้เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน ระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ได้พัฒนาร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคมฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ผ่านการเล่นกีฬา เพื่อ อยากส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด และเพื่อ ส่งเสริมความรัก สามัคคี ผู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
“โรงเรียนราชินีบูรณะ เป็นสถานศึกษาหญิงล้วน ลูกพระพันปี แต่ลูกของเราสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ทั้งที่เป็นงานของผู้ชาย ด้วยความสามารถและความร่วมมือร่วมใจกันทำให้กิจกรรมนี้สำเร็จ สมบูรณ์แบบ ทั้ง 4สี เป็นที่เชิดหน้าชูตาว่านี่คือลูกพระพันปี” ว่าที่ร้อยตรีมนต์เมืองใต้ กล่าว
นายกองตรี เอกพันธุ์ คุปตวัข กล่าวว่า กีฬาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราได้ผ่านอะไรๆมาทั้งเหนื่อย อดทน จนได้ชัยชนะ ล้วนมาจากความสามัคคีทั้งสิ้น ขอขอบคุณที่น้องๆร่วมมือกัน ทำให้งานวันนี้สำเร็จ สมบูรณ์ และยินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดงาน “ราชาวดีเกม2566” ทั้งนี้ได้มอบทุนสนับสนุนให้กับทีมสีทั้ง 4ทีม เพื่อขวัญใจสืบไป ขอให้ทุกคนรู้แพ้รู้ชนะ รู้อภัย
อนึ่งโรงเรียนราชินีบูรณะ แห่งนี้ก่อตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2457 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนว่า“สตรีวิทยา” 2460 โรงเรียนได้ถูกเพลิงไหม้ จึงได้ย้ายสถานศึกษามาอยู่ที่เรือนพักกองเสือป่า ในภายหลัง เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร (ชม สุนทราชุน) ผู้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี ได้ให้คุณหญิงทองอยู่ สุนทราชุน ผู้เป็นภรรยา เข้ารับพระราชทานทรัพย์ พร้อมที่ดินจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง มาสร้างโรงเรียนรวมถึงอาคารเรียนตามแปลน ของกนะทรวงธรรมการในสมัยนั้น และจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2462 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสด็จแทนพระองค์ และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนราชินีบูรณะ” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
////